วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
การโต้วาที
ความหมายของการโต้วาที - เป็นการอภิปรายแบบหนึ่ง - มีการโต้แย้งกันระหว่างบุคคลสองฝ่ายในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง - เสนอแนวคิดหรือหลักการในฝ่ายตน - หักล้างแนวคิดหรือหลักการของฝ่ายตรงข้าม - ใช้เหตุผล ข้อเท็จจริง ความรู้ ไหวพริบ วาทศิลป์ โวหาร คารม โน้มน้าวใจให้คล้อยตาม
ลักษณะของการโต้วาที มี 2 ลักษณะคือ 1. โต้วาทีโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน 2. โต้วาทีโดยมีรูปแบบ
จุดประสงค์ของการโต้วาที - เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีทัศนะขัดแย้งกันได้ชี้แจงเหตุผล ให้ผู้อื่นทราบ - ฝึกฝนทักษะการพูด ใช้เหตุผล ปฏิภาณ ไหวพริบ วาทศิลป์ ประสบการณ์ ความรอบรู้ การแสดงออกที่เหมาะสม - ฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงมาสนับสนุน และหักล้างได้อย่างมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ - ฝึกฝนทักษะการฟังอย่างมีวิจารณญาณทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
องค์ประกอบของการโต้วาที 1. ญัตติ 2. บุคคลที่เกี่ยวกับการโต้วาที - ประธานในการต้วาที- ผู้โต้วาที - กรรมการตัดสิน - ผู้จับเวลา - ผู้ฟัง
ญัตติ หมายถึง หัวข้อเรื่อง ปัญหา หรือข้อเสนอแนะให้มีการชี้ขาด
ลักษณะของญัตติที่ดี ใช้ถ้อยคำสุภาพ เข้าใจง่าย ชัดเจน กะทัดรัด และง่ายต่อการจดจำ พระเดชดีกว่าพระคุณ ประสบการณ์สำคัญกว่าการศึกษา
ญัตติในการโต้วาที การพูดยากกว่าการเขียน สตรีมีความอดทนกว่าบุรุษ ชีวิตในชนบทสบายกว่าชีวิตในเมืองหลวง มีชีวิตอยู่ในกรุงกับมลพิษดีกว่าชีวิตเงียบเหงาในชนบท เกิดเป็นชายสบายกว่าหญิง ฟังดนตรีไทยสบายใจกว่าดนตรีสากล ติดบุหรี่อันตรายกว่าติดเหล้า
ญัตติในการโต้วาที โรคเอดส์อันตรายกว่ามะเร็ง อยู่เป็นโสดดีกว่าแต่งงาน ของเทียมดีแน่แต่ของแท้ดีกว่า เป็นครูนั้นแสนลำบากเป็นนักเรียนเหนื่อยยากกว่าหลายเท่า ชายปฏิบัติธรรมได้ดีกว่าหญิง อ่านหนังสือพิมพ์ดีกว่าดูโทรทัศน์ เดินทางโดยรถไฟ ปลอดภัยกว่ารถยนต์
ลักษณะของญัตติที่ดี ควรอยู่ในรูปประโยคบอกเล่า นักเขียนดีกว่านักพูด มีปัญญาดีกว่ามีทรัพย์
ลักษณะของญัตติที่ดี ควรมีนัยขัดแย้งให้ผู้โต้วาทีสามารถโต้แย้งกันได้ เที่ยวเมืองไทยดีกว่าไปต่างแดน เป็นพ่อค้าดีกว่าเป็นข้าราชการ
บุคคลที่เกี่ยวข้องในการโต้วาที ประธานในการโต้วาที มีบทบาทสำคัญทำให้การโต้วาทีดำเนินไปด้วยดี ต้องรู้ขั้นตอนและหลักเกณฑ์การโต้วาทีอย่างดี มีความเป็นกลาง มีศิลปะการพูดสร้างบรรยากาศที่ดีแก่ผู้ฟัง หน้าที่คือ แจ้งญัตติ แนะนำผู้โต้ , กรรมการตัดสิน ชี้แจงกติกา เชิญผู้โต้ขึ้นโต้ตามลำดับ สรุปหลังจากผู้โต้พูดเสร็จ พูดยั่วยุฝ่ายตรงกันข้าม แถลงผลการตัดสิน กล่าวขอบคุณผู้โต้และกรรมการ
ผู้โต้วาที @ รู้หลักเกณฑ์การโต้วาทีเป็นอย่างดี ใช้เหตุผล @ มีไหวพริบ @ มีความรู้ในญัตติที่จะโต้ @ มีความสามารถทางภาษา @ มีอารมณ์ขัน
หัวหน้าฝ่ายเสนอ , ฝ่ายค้าน - เสนอญัตติ ตีญัตติ และค้านการตีความญัตติ - อ้างเหตุผลสนับสนุนแนวคิดฝ่ายตน - กล่าวสรุปประเด็นฝ่ายตนและหักล้าง แนวคิดฝ่ายตรงกันข้ามในตอนท้าย
ผู้สนับสนุน - เสนอประเด็นความคิดสนับสนุนผู้โต้ฝ่ายตน โดยลำดับ - โต้แย้ง หักล้างผู้โต้ฝ่ายตรงกันข้ามเป็น ประเด็น ๆ
กรรมการผู้ตัดสิน - รู้หลักเกณฑ์การโต้วาทีเป็นอย่างดี - มีความรู้ในญัตติที่โต้ - ไม่มีอคติ
ผู้จับเวลา ต้องควบคุมเวลาการโต้วาทีอย่างเคร่งครัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความเหมาะสม - หัวหน้า 5 - 10 นาที - ผู้สนับสนุน 3-5 นาที - ประธานในการโต้วาทีสรุป 5- 6 นาที
ผู้ฟัง - ทำให้บรรยากาศในการโต้วาทีมีสีสัน - มีมารยาทในการฟัง ปรบมือ เมื่อตรงประเด็น ไม่โห่ฮาป่า ไม่พูดหยาบคาย ใช้วิจารณญาณ
กลวิธีการโต้วาที 1. การตีญัตติฝ่ายเสนอสามารถนิยามคำทุกคำในญัตติ ฝ่ายค้าน สามารถค้านนิยามหรือให้นิยามใหม่ได้ 2. การเสนอแนวคิดต้องสามารถพิสูจน์ความจริง โดยยกเหตุผล หลักฐาน ข้อเท็จจริง มาสนับสนุน ตลอดจนหาเหตุหรืออุทาหรณ์ ที่ไม่ขัดกับญัตติเดิมของตน 3. ต้องมีการย้ำญัตติอยู่เสมอ
เกณฑ์การให้คะแนนการโต้วาที - มารยาท บุคลิก 10 คะแนน - หลักฐานอ้างอิง 10 คะแนน - เหตุผลในการหักล้าง 30 คะแนน - เนื้อหาสาระ 20 คะแนน - การใช้ภาษาหรือลูกเล่น 30 คะแนน รวม 100 คะแนน
ข้อควรคำนึงในการโต้วาที - ต้องรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด - ระวังวาจา ไม่พูดหยาบคาย ล่วงเกิน ก้าวร้าว อนาจาร ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของฝ่ายตรงกันข้าม ไม่ชี้หน้า ไม่เอ่ยนามจริงของฝ่ายตรงข้าม - ควรเตรียมตัวอย่างดีก่อนขึ้นโต้ ควบคุมสติอารมณ์ให้ได้ - ผู้โต้ควรเป็นนักฟังที่ดี และมีอารมณ์ขัน
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556
โคลงสี่สุภาพ
ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
หลักการจำตำแหน่งวรรณยุกต์ แบบฉบับลุงอ่ำ
๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้
เอกโทษ และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?
๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
หลักการจำตำแหน่งวรรณยุกต์ แบบฉบับลุงอ่ำ
กากากาก่าก้า กาก่ากากากา กากาก่ากากา กาก่ากากาก้า | กากา (00) ก่าก้า กาก่า (00) ก่าก้ากากา |
๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้
เอกโทษ และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?
คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้ | |
คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด (ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)
| |
คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน | |
คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท "โคลง" และ "ร่าย"และถือว่าเป็นข้อ บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้ เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า "โทโทษ" ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า "เอกโทษ" เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)