วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
การโต้วาที
ความหมายของการโต้วาที - เป็นการอภิปรายแบบหนึ่ง - มีการโต้แย้งกันระหว่างบุคคลสองฝ่ายในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง - เสนอแนวคิดหรือหลักการในฝ่ายตน - หักล้างแนวคิดหรือหลักการของฝ่ายตรงข้าม - ใช้เหตุผล ข้อเท็จจริง ความรู้ ไหวพริบ วาทศิลป์ โวหาร คารม โน้มน้าวใจให้คล้อยตาม
ลักษณะของการโต้วาที มี 2 ลักษณะคือ 1. โต้วาทีโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน 2. โต้วาทีโดยมีรูปแบบ
จุดประสงค์ของการโต้วาที - เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีทัศนะขัดแย้งกันได้ชี้แจงเหตุผล ให้ผู้อื่นทราบ - ฝึกฝนทักษะการพูด ใช้เหตุผล ปฏิภาณ ไหวพริบ วาทศิลป์ ประสบการณ์ ความรอบรู้ การแสดงออกที่เหมาะสม - ฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงมาสนับสนุน และหักล้างได้อย่างมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ - ฝึกฝนทักษะการฟังอย่างมีวิจารณญาณทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
องค์ประกอบของการโต้วาที 1. ญัตติ 2. บุคคลที่เกี่ยวกับการโต้วาที - ประธานในการต้วาที- ผู้โต้วาที - กรรมการตัดสิน - ผู้จับเวลา - ผู้ฟัง
ญัตติ หมายถึง หัวข้อเรื่อง ปัญหา หรือข้อเสนอแนะให้มีการชี้ขาด
ลักษณะของญัตติที่ดี ใช้ถ้อยคำสุภาพ เข้าใจง่าย ชัดเจน กะทัดรัด และง่ายต่อการจดจำ พระเดชดีกว่าพระคุณ ประสบการณ์สำคัญกว่าการศึกษา
ญัตติในการโต้วาที การพูดยากกว่าการเขียน สตรีมีความอดทนกว่าบุรุษ ชีวิตในชนบทสบายกว่าชีวิตในเมืองหลวง มีชีวิตอยู่ในกรุงกับมลพิษดีกว่าชีวิตเงียบเหงาในชนบท เกิดเป็นชายสบายกว่าหญิง ฟังดนตรีไทยสบายใจกว่าดนตรีสากล ติดบุหรี่อันตรายกว่าติดเหล้า
ญัตติในการโต้วาที โรคเอดส์อันตรายกว่ามะเร็ง อยู่เป็นโสดดีกว่าแต่งงาน ของเทียมดีแน่แต่ของแท้ดีกว่า เป็นครูนั้นแสนลำบากเป็นนักเรียนเหนื่อยยากกว่าหลายเท่า ชายปฏิบัติธรรมได้ดีกว่าหญิง อ่านหนังสือพิมพ์ดีกว่าดูโทรทัศน์ เดินทางโดยรถไฟ ปลอดภัยกว่ารถยนต์
ลักษณะของญัตติที่ดี ควรอยู่ในรูปประโยคบอกเล่า นักเขียนดีกว่านักพูด มีปัญญาดีกว่ามีทรัพย์
ลักษณะของญัตติที่ดี ควรมีนัยขัดแย้งให้ผู้โต้วาทีสามารถโต้แย้งกันได้ เที่ยวเมืองไทยดีกว่าไปต่างแดน เป็นพ่อค้าดีกว่าเป็นข้าราชการ
บุคคลที่เกี่ยวข้องในการโต้วาที ประธานในการโต้วาที มีบทบาทสำคัญทำให้การโต้วาทีดำเนินไปด้วยดี ต้องรู้ขั้นตอนและหลักเกณฑ์การโต้วาทีอย่างดี มีความเป็นกลาง มีศิลปะการพูดสร้างบรรยากาศที่ดีแก่ผู้ฟัง หน้าที่คือ แจ้งญัตติ แนะนำผู้โต้ , กรรมการตัดสิน ชี้แจงกติกา เชิญผู้โต้ขึ้นโต้ตามลำดับ สรุปหลังจากผู้โต้พูดเสร็จ พูดยั่วยุฝ่ายตรงกันข้าม แถลงผลการตัดสิน กล่าวขอบคุณผู้โต้และกรรมการ
ผู้โต้วาที @ รู้หลักเกณฑ์การโต้วาทีเป็นอย่างดี ใช้เหตุผล @ มีไหวพริบ @ มีความรู้ในญัตติที่จะโต้ @ มีความสามารถทางภาษา @ มีอารมณ์ขัน
หัวหน้าฝ่ายเสนอ , ฝ่ายค้าน - เสนอญัตติ ตีญัตติ และค้านการตีความญัตติ - อ้างเหตุผลสนับสนุนแนวคิดฝ่ายตน - กล่าวสรุปประเด็นฝ่ายตนและหักล้าง แนวคิดฝ่ายตรงกันข้ามในตอนท้าย
ผู้สนับสนุน - เสนอประเด็นความคิดสนับสนุนผู้โต้ฝ่ายตน โดยลำดับ - โต้แย้ง หักล้างผู้โต้ฝ่ายตรงกันข้ามเป็น ประเด็น ๆ
กรรมการผู้ตัดสิน - รู้หลักเกณฑ์การโต้วาทีเป็นอย่างดี - มีความรู้ในญัตติที่โต้ - ไม่มีอคติ
ผู้จับเวลา ต้องควบคุมเวลาการโต้วาทีอย่างเคร่งครัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความเหมาะสม - หัวหน้า 5 - 10 นาที - ผู้สนับสนุน 3-5 นาที - ประธานในการโต้วาทีสรุป 5- 6 นาที
ผู้ฟัง - ทำให้บรรยากาศในการโต้วาทีมีสีสัน - มีมารยาทในการฟัง ปรบมือ เมื่อตรงประเด็น ไม่โห่ฮาป่า ไม่พูดหยาบคาย ใช้วิจารณญาณ
กลวิธีการโต้วาที 1. การตีญัตติฝ่ายเสนอสามารถนิยามคำทุกคำในญัตติ ฝ่ายค้าน สามารถค้านนิยามหรือให้นิยามใหม่ได้ 2. การเสนอแนวคิดต้องสามารถพิสูจน์ความจริง โดยยกเหตุผล หลักฐาน ข้อเท็จจริง มาสนับสนุน ตลอดจนหาเหตุหรืออุทาหรณ์ ที่ไม่ขัดกับญัตติเดิมของตน 3. ต้องมีการย้ำญัตติอยู่เสมอ
เกณฑ์การให้คะแนนการโต้วาที - มารยาท บุคลิก 10 คะแนน - หลักฐานอ้างอิง 10 คะแนน - เหตุผลในการหักล้าง 30 คะแนน - เนื้อหาสาระ 20 คะแนน - การใช้ภาษาหรือลูกเล่น 30 คะแนน รวม 100 คะแนน
ข้อควรคำนึงในการโต้วาที - ต้องรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด - ระวังวาจา ไม่พูดหยาบคาย ล่วงเกิน ก้าวร้าว อนาจาร ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของฝ่ายตรงกันข้าม ไม่ชี้หน้า ไม่เอ่ยนามจริงของฝ่ายตรงข้าม - ควรเตรียมตัวอย่างดีก่อนขึ้นโต้ ควบคุมสติอารมณ์ให้ได้ - ผู้โต้ควรเป็นนักฟังที่ดี และมีอารมณ์ขัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)